Clock

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล


 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
        การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
        ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
        ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

3. โปรโตคอล (Protocol)
        โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
        การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ



5. ข่าวสาร (Message)
        เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง (Medium)
        เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่  สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ   เช่น  คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
Credit
                http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp

องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
คำอธิบาย: http://computernetwork.site40.net/images/line.gif
               องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูป
คำอธิบาย: http://computernetwork.site40.net/images/line.gif

คำอธิบาย: http://computernetwork.site40.net/images/line.gif
               1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูลหรือเตรียม ข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
               2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสารหรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำ ข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
               3.  ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
                           3.1 ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
                           3.2 เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็น
ตัวสร้างก็ได้
                           3.3 รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                           3.4 สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถ
เคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
               4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง
ปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
               5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ
มีความเข้าใจตรงกัน

http://computernetwork.site40.net/chapter1-1.html


องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
      การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่


      1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
      2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
      3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
      4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
         4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
         4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
         4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
         4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
      5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_datacom2.htm

รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล




การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ จากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลางไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

สามารถจัดรูปแบบได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้
              1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex )ใน การส่งสัญญาณข้อมูลแบบ simplex ข้อมูลจะถูกส่งไปในทางเดียวเท่านั้น และตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของ สถานี วิทยุ หรือ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น

 

               2. แบบกลึ่งทางกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Either-Way of Two Waysหรือ Half Duplex) การ สื่อสารแบบ Half Duplex เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับกันส่ง จะทำใน เวลาเดียว กันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจแบบ Walkly-Talkly ซึ่งต้องอาศัยการ สลับสวิตซ์ เพื่อแสดง การเป็นผู้ส่งสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียกการสื่อสารแบบ Haft Duplex ว่า แบบสายคู่ ( Two-Wire Line)



                    
 3. แบบทางคู่ (Full-Duplex) ใน แบบนี้เราสามารถส่งข้อมูล ได้พร้อมๆ กันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น การพูดคุยโทรศัพท์ โดยสามารถ สื่อสารพร้อมกันได้ทั้งสองฝ่าย บางครั้ง เรียกการสื่อสาร แบบทางคูว่า Four-Wire Line

 รูปแบบ Full-Duplex

                   4.   แบบสะท้อนสัญญาณหรือ เอ๊กโคเพล๊กซ์ (Echo-Plex) เป็นการส่งสัญญาณที่รวมทั้ง Half-Duplex และ Full-Duplex ไว้รวมกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคีย์บอร์ และจอภาพของเครือง Terminal ของ Main Frame หรือ Host คอมพิวเตอร์ ในระหว่างการคีย์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดเพื่อให้ Host คอมพิวเตอร์รับข้อความหรือทำตามคำสั่งข้อความ หรือคำสั่ง จะปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ของเครื่องTerminal ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง Host ซึ่ง เป็นแบบ Full-Duplex จะสะท้อนกลับมาปรากฏที่จอภาพเครือง Terminal ด้วย
การส่งข้อมูลแบบอนาลอก (Analog Transmission)
เป็นการส่งสัญญาณแบบอนาล๊อกโดยไม่สนใจในสิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในสัญญาณเลย สัญญาณจะแทนข้อมูลอนาล๊อก ( เช่น สัญญาณเสียง ) หรือ ข้อมูลดิจิตอล (เช่น ข้อมูลไบนารีผ่านโมเด็ม) สัญญาณอนาล๊อกที่ทำการส่งออกไป พลังงานจะอ่อนลง ไปเรื่อยๆ เมื่อระยะทาง ทางเพิ่มขึ้น ดั้งนั้น ในการส่งสัญญาณอนาล๊อกไประยะไกลๆ จึงต้องอาศัยเครื่องขยายสัญญาณ หรือ แอมปลิไฟเออร์ ( Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับ พลังงาน ให้กับสัญญาณ แต่ในการใช้เครื่องขยายสัญญาณจะมีการ สร้างสัญญาณรบกวนขึ้น (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูลด้วย ยิ่งระยะทาง ไกล มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสัญญาณรบกวนมากขึ้นเท่านั้น การส่งสัญญาณอนาล๊อกจึงต้องการวงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณ รบกวนออกอีก ดั้งหัวข้อต่อไปนี้
ส่วนในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะสนใจทุกสิ่งทุกอย่างมาบรรจุในสัญญาณ เพื่อระยะทางเพิ่มขึ้นมากขึ้น จะทำให้สัญญาณดิจิตอลจางหาย ไปได้ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณหรือ รีพีตเตอร์ (Repeater) เพื่อกู้ (Recover) รูปแบบของสัญญาณที่มีลักษณะ เป็น " 1 " และ " 0 " เสียก่อน แล้วจึงส่งสัญญาณใหม่ต่อไปเราสามารถนำเอาอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณมาใช้กับกับการส่งสัญญาณมาใช้กับการส่งสัญญาณอนาล๊อกที่มีข้อมูลเป็นแบบดิจิตอลได้เครื่องทบทวนสัญญาณจะกู้ข้อมูลดิจิตอลจากสัญญาณอนาล๊อกและสร้างสัญญาณขึ้นมาใหม่แล้วลบสัยญาณอนาล๊อกที่ส่งมาด้วยออกไปดั้งนั้นจะไม่มีสัญญาณรบกวนที่ติดมากับสัญญาณอนาล๊อกหลงเหลืออยู่เลยคำถามคือว่าเราจะเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนาล๊อกหรือแบบดิจิตอลดีคำตอบก็ขึ้นอยู่กับระยะทางในการส่งข้อมูลนั้นใกล้หรือไกลถ้าเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารนถเดินสายสื่อสารดิจิตอลได้ก็ควรจะเลือกใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะ ทางไกลๆ การสื่อสารของไทยเรายังคงเป็นระบบอนาล๊อกอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์ หรือระบบโทรเลข ดั้งนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูล เป็นแบบอนาล๊อก



                                           

บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล



บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล เกิดจากคำสองคำ คือ การสื่อสาร (Communication) ซึ่งหมายถึง การส่งเนื้อหาจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง และคำว่าข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ซึ่งในที่นี้เราจะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป ซึ่งเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ นั่นคือ การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งเนื้อหาที่อยู่ในรูปตัวเลขฐานสองที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดวิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

        การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้ มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ         ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสาร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2515 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้ปลายทางหลายคน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบ
          ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยของไมโครคอมพิวเตอร์ พบว่าขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงานของเมนเฟรม มีความเร็วมากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับไมโครคอมพิวเตอร์ตัวที่ดีที่สุด แต่ราคาของเมนเฟรมแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์หลายพันเท่า การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์จึงแพร่หลายและกระจายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายแบบกระจาย กล่าวคือ แทนที่จะออกแบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อกับเมนเฟรม ก็เปลี่ยนเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แทน
         ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบของเครือข่ายคอม

ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์สามารถส่งต่อ คัดลอก จัดพิมพ์ ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดลอกด้วยมือซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วย วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ระบบดังกล่าวนี้มักเรียกย่อกันสั้น ๆ ว่าโอเอ (OA) เป็นระบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานที่เกี่ยวกับเอกสารทั่วไป แล้วส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อโอนย้ายแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ระหว่างแผนก
        บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่ง คือ การให้บริการข้อมูล หลายประเทศจัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การได้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
        ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งที่ตระหนักกันอยู่เสมอ ลองพิจารณาถึงประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลต่อไปนี้
1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=208796
http://l3l3l3ooollspeciessofpeach.blogspot.com/2010/04/data-communication.html
http://www.student.chula.ac.th/~49438788/__1.html
                                           

นิยามการส่งข้อมูล


นิยามของการส่งข้อมูล     การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูล หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง
        การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม
 1.แบ่งตามรูปแบบการส่งข้อมูล
           1) การส่งแบบขนาน (Parallel) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูล หลายๆ ชุดไปพร้อมกันโดยวิธีการนี้จะสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่จะสิ้นเปลืองช่องทางในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
           2) การส่งแบบอนุกรม (Serial) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูลไปในช่องทางเดียวกันทีละชุดข้อมูลโดยวิธีการนี้ จะส่งข้อมูลได้ช้ากว่า แต่จะใช้ช่องทางการส่งข้อมูลน้อยกว่าวิธีการส่งแบบขนาน
ลักษณะการทำงาน
ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อ เราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)
การส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้

การส่งสัญญาณแบบอนาลอก (Analog Transmission)
การ ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป
 

การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Transmission)
การ ส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ใน ทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์ (Repeater)




Credit

Credit 4.นิยามของการส่งข้อมูลและลักษณะการทำงาน หน้า 4 - การสื่อสารข้อมูล

Credit บทที่ 6 การสื่อสารโทรคมนาคมและเครื่อข่าย
                                           

เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล


เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล


เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
                ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ   ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ   เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน  ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
                จาก จุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล  ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล  ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน  อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ   นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ   ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
                องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร



1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
                2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็น แหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
                3.  ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
                     - ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
                     - เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
                      - รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
                      - สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็น สื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
                5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
1.2 ชนิดของการสื่อสาร
                การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1.              การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 2






รูปที่ 2 แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว
2.              การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 3



รูปที่ 3 แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน
3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์ เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 4


รูปที่ 4 แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน
1.3 การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง

ประเภทของสัญญาณ
ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งสามาถจำแนกสัญญาณได้ 2 ลักษณะ
1.       สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal)
เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล               แสดงดังรูปที่ 5

รูปที่ 3.5 แสดงสัญญาณแบบดิจิทัล
2.       สัญญาณอนาลอก(Analog Signal)
เป็น สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันที่ทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิทัล เช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แสดงดังรูปที่ 6


รูปที่ 6 แสดงสัญญาณแบบอนาลอก
3.1.4 สื่อกลางการสื่อสาร (Transmission media)
การส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับให้ครบถ้วนและถูกต้องจำเป็นต้องอาศัยสื่อกลางในการเชื่อมต่อซึ่งสื่อกลาง (Medium) ทำ หน้าที่เป็นเส้นทางเดินของข้อมูล โดยคุณภาพของสัญญาณที่ถูกส่งออกไปจะเกิดการสูญเสียความเข้มของสัญญาณระหว่าง เส้นทางการสื่อสารทำให้ข้อมูลฝั่งรับเกิดข้อผิดพลาดและเป็นการลดทอน ประสิทธิภาพของการสื่อสารลง ซึ่งสื่อที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission medium) จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการส่งด้วย โดยสื่อกลางในการส่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. สื่อกลางแบบมีสาย (Guide media)
เป็นสื่อซึ่งอาศัยวัสดุที่จับต้องได้เป็นตัวส่งผ่านสัญญาณ เช่น สายทองแดง สายคู่ตีเกลียว (Twisted pair)
    1.1 Twisted Pair (สายคู่ตีเกลียว)
            สายคู่ตีเกลียวแบ่งออกเป็นสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนเรียกสั้นๆ ว่า UTP (Unshielded Twisted Pair) และสายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair)
- UTP (Unshielded Twisted Pair)
คู่ สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้น ซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างไปและตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก(Plastic Cover) ซึ่งการตีเกลียวลักษณะนี้จะช่วยให้มันมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวน จากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น จากเครื่องถ่ายเอกสารที่อยู่ใกล้ๆ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 UTP (Unshielded Twisted Pair)
- STP (Shield Twisted Pair)
   เป็นสายคู่ลักษณะคล้ายกันกับสาย UTP แต่ มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวนที่เป็นโลหะถักเป็นร่างแหโลหะหรือฟอยส์ ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนต่างๆ ภาษาเทคนิคเรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) จะใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าระยะทางที่จะใช้สาย UTP แสดงดังรูปที่ 8


รูปที่ 8 สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair)

1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
       ลักษณะ แกนกลางของสายโคแอกเชียลเป็นทองแดงแล้วหุ้มด้วยพลาสติกส่วนชั้นนอกหุ้มด้วย โลหะหรือฟอยล์ที่ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน สายโคแอกเชียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (thick) และแบบบาง (thin) ส่วนใหญ่ใช้กับระบบเครือข่ายแบบ Ethernet แบบเดิม ซึ่งใช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องใช้อุปกรณ์รวมสาย (Hub) แต่ในปัจจุบันมีการใช้น้อยลงเนื่องจากถูกแทนที่ด้วยสาย UTP ที่มีราคาถูกกว่าและสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า แสดงดังรูปที่ 9

รูปที่ 9 สายโคแอกเชียล
1.3  ใยแก้วนำแสง (Fiber-Optic)
ลักษณะ ใยแก้วนำแสงจะส่งสัญญาณแสงวิ่งผ่านท่อแก้วหรือท่อพลาสติกเล็กๆซึ่งท่อแก้ว นี้จะถูกหุ้มด้วยเจลหรือพลาสติก เพื่อป้องกันความเสียหายและการสูญเสียของสัญญาณ มีข้อดีตรงที่ส่งสัญญาณได้ระยะทางไกลโดยไม่มีสัญญาณรบกวน แสดงดังรูปที่ 10

รูปที่ 10 ใยแก้วนำแสง
2. สายกลางแบบไร้สาย (Unguided media)
เป็น สื่อกลางประเภทที่ไม่ใช้วัสดุใดๆ ในการนำสัญญาณ ซึ่งจะไม่มีการกำหนดเส้นทางให้สัญญาณเดินทาง เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า        
2.1 ระบบคลื่นไมโครเวฟ
ระบบ สื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ มักใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่เชื่อมต่อด้วยสื่อประเภท อื่นลำบาก เช่น มีแม่น้ำขวางกั้นอยู่ หรือการสื่อสารข้ามอาคาร เป็นต้น การส่งสัญญาณข้อมูลไปกับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากสถานีรับส่งสัญญาณหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง โดยสามารถเกิดสัญญาณรบกวน ซึ่งสภาพดินฟ้าอากาศมีผลต่อการส่งคลื่นไมโครเวฟพอสมควร  เช่นถ้าสภาพอากาศมีฝนหรือควันมาก สัญญาณไมโครเวฟจะถูกรบกวนได้  ด้วยเหตุนี้ทำให้เครื่องส่งรับไมโครเวฟส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงานในสภาพอากาศต่างๆที่แตกต่างกัน            แสดงดังรูปที่ 11

รูปที่ 11 ระบบคลื่นไมโครเวฟ
                               
2.2 ระบบดาวเทียม
การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่สถานีรับ-ส่ง ที่อยู่บนพื้นดิน ส่งตรงไปยังดาวเทียมแล้วส่งกลับมายังตัวรับปลายทางที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ลักษณะการสื่อสารระบบดาวเทียมเหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารระยะไกลที่ระบบ สื่อสารอื่นๆ เข้าถึงลำบาก เช่น เดินเรืออยู่กลางทะเล แสดงดังรูปที่ 12

                                        รูปที่ 12 ระบบดาวเทียม
สัญญาณ รบกวนและสภาพดินฟ้าอากาศก็นับว่ามีผลต่อการส่งข้อมูลจากสถานีพื้นโลกกับดาว เทียมอยู่พอสมควร เพราะว่าสภาพอากาศที่แปรปรวนจะรบกวนสัญญาณให้ผิดเพี้ยนไปได้  โดยส่วนใหญ่ดาวเทียมจะถูกออกแบบมาให้ชดเชยการรบกวนของสภาพอากาศที่แปรปรวนเหล่านั้นเช่น  ฝน หรือหมอก  เป็นต้น
1.5 อุปกรณ์สำหรับการสื่อสาร
การ สื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ทางอิเล็คโทรนิกค์ช่วย ในการส่งข้อมูล จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นการแปลงข้อมูล เช่น ข้อความในกระดาษ รูปภาพ ที่ไม่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้าให้เปลี่ยนอยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าหรือสัญญาณดิ จิทัล อุปกรณ์ในการสื่อสารยังรวมถึงอุปกรณ์ที่ช่วยในการแก้ปัญหาสัญญาณอ่อนกำลัง ปัญหาสัญญาณรบกวนเมื่อมีการส่งสัญญาณ  ดังนั้นระบบการสื่อสาร ข้อมูลจึงต้องมีอุปกรณ์การสื่อสารมาช่วยในการจัดการปัญหาต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีการใช้กับมากในระบบการสื่อสาร ข้อมูล

1. เครื่องเทอร์มินอล (Terminal)
                เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางหรือปลายทางที่ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วๆไป (Personal Computer) 
2. โมเด็ม (Modem)
                เมื่อต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ไปยังระบบอินเทอร์เน็ต(Internet) ต้องอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณอนาล็อกแล้วส่งผ่านไปตามระบบโทรศัพท์
3. เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)
เป็น อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณ และป้องกันการขาดหายของสัญญาณ เนื่องจาก การสื่อสารข้อมูลต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าในการรับส่งข้อมูล โดยตามปรกติเมื่อสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางจากจุดๆหนึ่งไปยังปลายทางจะเกิดการ สูญเสียแรงดันทางไฟฟ้า และส่งผลให้สัญญาณเกิดออ่อนกำลัง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีรีพีตเตอร์มาช่วยในการรับส่งข้อมูล โดยรีพีตเตอร์ทำหน้าที่ทบทวนสัญญาณไฟฟ้าขึ้นใหม่ให้เหมือนสัญญาณเดิมที่ถูก ส่ง
4. เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier)
                เป็น อุปกรณ์ขยายสัญญาณ โดยมีหน้าที่การทำงานเหมือนกับรีพีตเตอร์ แต่จะใช้กับสัญญาณอนาล็อก โดยเมื่อสัญญาณอนาล็อกอ่อนกำลังเครื่องขยายสัญญาณจะทำการขยายสัญญาณที่อ่อน กำลังให้มีค่าเพิ่มขึ้นใกล้เคียงหรือมีค่าเท่ากับสัญญาณเดิม แต่ของเสียของเครื่องขยายสัญญาณคือ มันจะขยายสัญญาณรบกวนที่ผสมมากับสัญญาณข้อมูลด้วย
2 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
จาก ระบบการสื่อสารข้อมูลค้วยคอมพิวเตอร์ที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ฝั่งส่งกับคอมพิวเตอร์ฝั่งรับ 2 เครื่อง แต่เมื่อเราต้องการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ตัว โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อร่วมกันหลายๆ เครื่อง เราจะเรียกว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network) ซึ่งในปัจจุบันระบบเครือข่ายมีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งทางด้านธุรกิจ หรือทางด้านการศึกษา เช่น การใช้ระบบเครือข่ายของธนาคาร การใช้เครือข่ายในมหาวิทยาลัยเพื่อการค้นหนังสื่อ หรือหาข้อมูลการวิจัย เป็นต้น  โดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการเพิ่มความ สามารถของระบบให้สูงขึ้นแลนะเป็นการลดต้นทุนระบบโดยรวมลง ซี่งจะมีการแบ่งการใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น สามารถการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพง เป็นต้น


2.1 ประโยชน์การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
การใช้ทรัพยากร (Resource) รวมกัน คือ สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายฮารด์แวร์ ลงไปได้มากเนื่องจากไม่ต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้ในทุกๆ จุด เช่น ซื้อเครื่องพิมพ์คุณภาพดีมาใช้ร่วมกัน ดีกว่าซื้อเครื่องพิมพ์ให้แก่คอมพิวเตอร์ทุกตัว ดังนั้นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม และการเชื่อมต่อเครือข่ายนั้นยังไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น การเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ เป็นต้น
การใช้ข้อมูลในไฟล์รวมกัน   เป็น การเข้าถึงข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใดก็ได้ที่เชื่อม ต่อกัน โดยไม่ต้องใช้แผ่นดิกส์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบอื่นช่วยในการโอนย้ายข้อมูล เช่น การใช้ฟอร์มงานเอกสารต่างๆ ร่วมกัน หรือการถ่ายโอนข้อมูล เป็นต้น
2.2 ประเภทของระบบเครือข่าย
1.       ระบบเครือข่ายเฉพาะที่(LAN)
คือ เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่น ภายในห้อง หรือภายในตัวอาคาร แสดงดังรูปที่ 13


รูปที่ 13 ระบบเครือข่ายเฉพาะที่
2.       ระบบเครือข่ายระหว่างเมือง(MAN)
คือ เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN มักเกิดจากการเเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อระบบระหว่างองค์กรกับองค์กรที่อยู่ แสดงดังรูปที่ 14
                   
รูปที่ 14 ระบบเครือข่ายระหว่างเมือง
3.       ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN)
เป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง ซึ่งอาจมีขอบเขตการเชื่อมต่อที่กว้างไกลขึ้นจาก LAN และ MAN ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อแล้วจะก่อให้เกิดเป็นระบบเครือข่ายในระดับจังหวัด ประเทศ หรือข้ามทวีปได้ แสดงดังรูปที่ 15


รูปที่ 15 ระบบเครือข่ายระยะไกล
4.        อินเทอร์เน็ต
คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก โดยเกิดจากการรวมเอาเครือข่าย LAN MAN และ WAN ย่อยๆ จำนวนมากเข้าด้วยกัน ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกตัวสามารถรับ-ส่งข้อมูลซึ่งกันและกันได้ แสดงดังรูปที่ 16

รูปที่ 16 อินเทอร์เน็ต
3.2.3 รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (Network topology)
1.       การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
ประกอบ ด้วยคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อในลักษณะแบบดาว คือ มีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ และอุปกรณ์ที่เหลือ โดยเครื่องศูนย์กลางจะทำหน้าที่ในการควบคุมการสื่อสาร ทั้งการกำหนดเส้นทางการสื่อสาร หรือการดูแลอุปกรณ์ที่จะใช้งานร่วมกัน กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ตัวใด จะติดต่อสื่อสารกันจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ตัวกลางนี้ตลอด หรือ คอมพิวเตอร์ตัวใด ต้องการพิมพ์งาน ก็จะต้องติดต่อกับเครื่องพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์ตัวกลางก่อน ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเกิดเสียหายจะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อสื่อ สารกันได้ แสดงดังรูปที่ 17

รูปที่ 17 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
2.       การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส
เป็น การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดบนสายสื่อสารเพียงเส้น เดียว เช่น สายคู่บิตเกลียว สายโคแอ็กเซียว หรือสายใยแก้วนำแสง โดยสัญญานที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะ การกระจายข่าว ( Broadcast) คือ ส่งออกไปทั้งสองทิศทางไปยังทุกส่วนของระบบเครือข่ายนั้นโดยมีซอฟต์แวร์ที่ ติดตั้งกับอุปกรณ์แต่ละตัวเป็นตัวควบคุมการสื่อสาร ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่มีอุปกรณ์ตัวใดทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมระบบเลย ในกรณีนี่ถ้าอุปกรณ์ใดก็ตามหยุดการทำงานไปก็จะไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ยัง คงทำงานอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ขณะเวลาๆ หนึ่งระบบนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งสัญญาณออกมาได้ โดยอุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะไม่มีผู้ใด ส่งสัญญาณจึงจะสามารถเริ่มส่งสัญญาณของตนเองออกมาได้ ถ้ามีอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปส่งสัญญาณออกมาพร้อมกันก็จะเกิดปัญหาสัญญาณ ชนกัน (Collision) ซึ่งจะทำให้สัญญาณของทุกฝ่ายเสียหายไม่ สามารถนำไปใช้งานได้ระบบนี้จะมีประสิทธิภาพตํ่าในกรณีที่มีอุปกาณ์เชื่อมต่อ อยู่เป็นจำนวนมาก แสดงดังรูปที่ 18


รูปที่ 18 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส

3.       การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน
เป็นการเชื่อมต่อที่มีลักษณะเป็นวงแหวน การรับส่งข้อมูลจะเป็นไปในทิศทางเดียว โดยใช้ Token ซึ่ง เป็นตัวอนุญาตให้คอมพิวเตอร์ตัวใดมีสิทธิ์ส่งข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดการชนกัน ของข้อมูล โดยถ้าคอมพิวเตอร์ตัวใดต้องการส่งข้อมูลก็จะไปจับ Token มาและใส่ข้อมูลไปกับ Token ซึ่งในขณะที่ Token ไม่ว่างคอมพิวเตอร์ตัวอื่น ก็ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องรอให้ Token ว่าง ซึ่ง Token จะว่างก็ต่อเมื่อส่งข้อมูลได้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว แสดงดังรูปที่ 19


รูปที่ 19 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
4.       เครือข่ายแบบผสม(Mesh Network)
เป็น เครือข่ายที่ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน เป็นการผสมเครือข่ายหลายๆแบบเข้าด้วยกัน เช่น เครือข่ายแบบบัสผสมแบบวงแหวนผสมแบบดาว แสดงดังรูปที่ 20

รูปที่ 20 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม
2.4 องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
ใน หัวข้อนี้จะเป็นการพูดถึงอุปกรณ์ใดบ้างที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างเครือข่าย เพื่อให้เห็นภาพรวมของระบบเครือข่ายกับสิ่งที่ได้กล่าวไปทั้งหมด โดยจะเน้นที่เครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) เป็นตัวอย่าง
                                1. อุปกรณ์ฮารด์แวร์
1.1    NIC (Network Interface Card)
 เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายสื่อสาร แสดงดังรูปที่ 21


รูปที่ 21 การ์ดแลน
1.2  HUB
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อสาย LAN แบบ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดย HUB แต่ละตัวจะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อกับสาย UTP ในจำนวนที่แตกต่างกัน เช่น 8, 16, 24 หรือมากกว่านั้น ข้อดีของการใช้ HUB คือ ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใดหรือสายสัญญาณเส้นใดมีปัญหาผิดปกติก็สามารถดึงออกได้โดยง่าย สามารถสลับเครื่อง เพิ่ม-ลด จำนวน รวมถึงสะดวกในการโยกย้ายสายสัญญาณ เพราะสายสัญญาณทั้งหมดนั้นรวมที่เดียวกันหมด ซึ่งอาจทำเป็นห้องหรือตู้ขึ้นมาเก็บสายสัญญาณให้เรียบร้อยได้ แสดงดังรูปที่ 22

รูปที่ 22 รูปแสดง Hub ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
1.3    Bridge
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือ ข่าย โดยบริดจ์จะรับข้อมูลจากเครือข่ายต้นทาง แล้วทำการตรวจสอบตำแหน่งของเครือข่ายปลายทาง จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายปลายทาง แสดงดังรูปที่ 23


รูปที่ 23 รูปแสดง Bridge ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

1.4    Router
เรา เตอร์ เหมือนกับบริดจ์ แต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยสามารถจัดหาเส้นทางข้อมูล เพื่อส่งไปให้ยังสถานีปลายทางได้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันได้มีการรวมหน้าที่การทำงานของ Gateway ไว้ใน Router แล้วทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านรูปแบบของแพ็คเก็ต เช่นRouter สามารถแปลงรูปแบบของ Apple talk ไปเป็น TCP/IP ได้ เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 24


รูปที่ 24 รูปแสดง Router ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
2. ซอฟต์แวร์
ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่าย เรียกว่า NOS (Network Operating System) เป็นตัวติดต่อระหว่างสถานีผู้ใช้ กับ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell’s NetWare OS/2 LAN Server, Microsoft Windows NT Server, Microsoft Windows NT 2000, AppleShare, Unix, Linux เป็นต้น
                                3. ตัวกลางนำข้อมูล
                                ตัวกลางที่ใช้ในระบบเครือข่าย สามารถเป็นได้หลายชนิด เช่น สาย Coaxial, UTP (Unshielded Twisted-Pairs), สายไฟเบอร์อ๊อฟติค หรืออาจเป็นคลื่นวิทยุที่ใช้กับ Wireless LAN
                2.5 ข้อจำกัดของระบบเครือข่าย
                ข้อ จำกัดของระบบเครือข่ายมีหลายประการ ประการแรก คือ การเรียกใช้ข้อมูลในไฟล์ผ่านระบบเครื่อข่ายนั้นจะมีความเร็วที่ช้ากว่าการ เรียกใช้ข้อมูลกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องของตนเอง ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของสายสัญญาณและระยะทางที่ใช้ในการส่งข้อมูล   ประเด็น ที่สอง คือ การแบ่งทรัพยากรกันใช้นั้นอาจไม่สามารถใช้ทรัพยากรนั้นๆได้ทันทีทันใด เพราะหากมีการเรียกใช้ทรัพยากรเดียวกันจากคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง พร้อมกัน เช่น การใช้เครื่องพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ตัวอื่น อยู่ก่อนหน้าแล้ว งานพิมพ์ของเราก็จะต้องเข้าคิวรอการทำงาน ประเด็นที่สาม การดูแลระบบความปลอดภัยของเครือข่ายนั้นมีความยากกว่าการดูแลเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ทำงานตัวเดียว เพราะจะมีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาเอาข้อมูลได้จากหลายๆที่


3 มาตรฐานของระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN)
ระบบ LAN ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปมีฮาร์ดแวร์ที่ยึดมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัส หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineering) โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
3.1 อีเทอร์เน็ต (Ethernet)
อีเทอร์เน็ต (Eternet) เป็นระบบ LAN ที่พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค. 1976 เริ่มจากศูนย์วิจัย PARC (Palo Alto Research Center ของ Xerox) ซึ่งถูกจัดเป็นมาตรฐานรหัส 802.3 ของ IEEE ปัจจุบันมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยในระยะแรกอีเทอร์เน็ตใช้สาย Coaxial เป็นหลักต่อมาได้พัฒนาและเปลี่ยนไปใช้สายแบบ UTP(Unshielded Twisted Pair) มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีราคาและสามารถติดตั้งได้ง่าย รวมถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลถูกทำให้เพิ่มขึ้นจาก 10Mbps ไปเป็น 100-1000 Mbps(1 Gbps) ในปัจจุบันและอาจถึง10 Gbps
ลักษณะสำคัญของอีเทอร์เน็ต คือ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งผ่านตัวกลางที่เชื่อมระหว่างทุกๆ เครื่อง ซึ่งก็คือสาย Coaxial นั่นเอง ดังนั้น Ethernet ในยุคแรกจึงใช้การต่อสายแบบบัส (Bus) ที่วิ่งผ่านทุกเครื่องและต่อมาค่อยๆเปลี่ยนไปสู่การต่อแบบดาว (Star) ที่รวมสายเข้าศูนย์กลาง เมื่อมีการใช้สาย UTP และต่อผ่านอุปกรณ์ฮัป (Hub) มาตรฐานที่สำคัญของ Ethernet ได้แก่ 10Base-5, 10Base-2,10Base-T โดยรหัสแต่ละตัวมีความหมายแสดงดังรูปที่ 25
                                                                                                            

รูปที่ 25 ความหมายของรหัสแต่ละตัว
ความเร็ว เป็น ตัวบอกความเร็วสูงสุดที่ระบบทำได้ในกรณีที่ไม่มีอุปสรรคใดๆ มาทำให้ความเร็วลดลง โดยในระบบทำงานจริงๆ ไม่สามารถทำได้ ปัจจุบันมีที่ใช้กันคือ 10, 100, 1000 เมกะบิตต่อวินาที
วิธีส่งสัญญาณ เป็นตัวบอกลักษณะการส่งสัญญาณทางไฟฟ้า จะมี 2 ลักษณะคือ Baseband และ Broadband โดย Baseband คือวิธีการส่งสัญญาณแบบดิจิทัล 0 และ 1 จะไม่มีการผสมสัญญาณนี้เข้ากับสัญญาณความถี่สูงอื่นใด ส่วน Broadband คือ การส่งสัญญาณแบบอนาล็อก ที่มีการผสมสัญญาณระหว่างสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกกับสัญญาณคลื่นพา (Carrier Signal) เพื่อให้ส่งได้ไกลและมีความเพี้ยนน้อยกว่าแบบแรก

สายที่ใช้  รหัสที่ใช้แต่ละตัวมีความหมายดังนี้
5 หมายถึง การใช้สายแบบ Thick coaxial ซึ่งมีขนาดใหญ่โยงถึงกัน สายแบบนี้ลากไปไกลได้ไม่เกิน 500 เมตร จึงใช้เลข 5
2 หมายถึง การใช้สายแบบ Thin coaxial ซึ่งมีขนาดเล็กโยงถึงกัน สายแบบนี้ลากไปไกลได้ไม่เกิน 200 เมตร จึงใช้เลข 2
T หมายถึง การใช้สาย UTP (Unshielded Twisted-Pair) แบบที่เรียกว่า Category 5 (CAT 5) โดยทำการต่อเชื่อมทุกเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ hub สายแบบนี้ลากไปไกลได้ไม่เกิน 100 เมตร
F      เป็นระบบที่ใช้สาย Fiber-optic ซึ่งสามารถลากไปได้ไกลหลายร้อยเมตรขึ้นไป
3.2 ฟาสต์อีเทอร์เน็ต และ Gigabit Ethernet
Ethernet ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มจาก 10 Mbps ขึ้นเป็น 100 และ 1000 Mbps หรือกว่านั้น ซึ่งถูกนำมาใช้กับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่หรือภาพ (Image) รวมทั้งข้อมูลที่ต้องรับส่งให้ได้ตามเวลาจริง (Real-time) เช่น ภาพเคลื่อนไหวและเสียง โดยมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงจัดเป็นกลุ่มดังนี้
100Base-T           เป็นระบบที่พัฒนาโดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่า 10Base-T เดิม คือ ใช้เป็นสาย   UTP ที่ดีกว่า เช่นสาย CAT5+ หรือ CAT5e โดย Hub ต้องรองรับความเร็ว 100Mbps ด้วย ระบบเครือข่าย LAN รุ่นใหม่จะใช้มาตรฐานนี้เป็นหลัก โดยสายที่ใช้กับระบบ 100Base-T นี้จะแยกรับส่งข้อมูลเป็น 4 คู่สาย ด้วยความเร็วคู่สายละ 25 Mbps รวมเป็น 25 x 4 = 100Mbps
Gigabit Ethernet              หรือเรียกกันเป็น 1000Base-T (สาย UTB) หรือ 1000Base-F (สาย Fiber optic) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว 1000 Mbps หรือ 1 Gbps ซึ่งกำลังจะเป็นมาตรฐานใหม่ของระบบเครือข่ายสำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูงมาก เช่น งานกราฟิก
10 Gigabit Ethernet        เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะสามารถรับส่งข้อมูล ได้ในระดับความเร็ว 10000 Mbps หรือ 10 Gbps คาดว่าระยะแรกจะใช้กับการเชื่อมต่อระหว่างเมือง หรือ WAN แต่ต่อไปก็คงเข้ามาอยู่ในระดับเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเดสก็ท็อปตามลำดับ
3.3 โทเคนริง (Token Ring)
เป็นการต่อ LAN ในแบบวงแหวน (Ring) โดยมีวิธีควบคุมการส่งข้อมูลแบบ Token-passing ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไอบีเอ็ม โดยในรุ่นแรกๆจะมีความเร็วเพียง 4 Mbps แต่ต่อมาได้ปรับปรุงเป็น 16Mbps จุดอ่อนของ Token-Ring คือ ถ้าสายเส้นใดเส้นหนึ่งขาดวงแหวน จะไม่ครบวงและทำงานไม่ได้ แสดงดังรูปที่ 26

รูปที่ 26 รูปแสดง Token Ring
3.4 FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
FDDI เป็นมาตรฐานการต่อระบบเครือข่ายโดยใช้สาย Fiber optic ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 100 Mbps เท่ากับ Fast Ethernet ลักษณะของ FDDI จะต่อเป็นวงแหวน โดย FDDI เหมาะที่จะใช้เป็น backbone ที่เชื่อมต่อระบบ LAN หลายๆวงเข้าด้วยกัน โดยแต่ละวง LAN จะต้องมีตัวรวมสาย (concentrator) หรืออุปกรณ์ Router ที่ใช้ต่อระหว่าง LAN ทั้งวงเข้าเป็นสถานี
ในวงของ FDDI มีสายสองชั้นเดินคู่ขนานกัน เพื่อสำรองในกรณีเกิดสายขาดขึ้นวงจรจะได้ตัดส่วนที่ขาดออกแล้ววนสายที่เหลือให้ครบรอบเป็น ring ตามเดิม ลักษณะการรับส่งข้อมูลของ FDDI ก็ใช้วิธี Token-passing เช่น เดียวกับ Token Ring แสดงดังรูปที่ 27

รูปที่ 27 รูปแสดง FDDI
เครือข่าย LAN ไร้สาย (Wireless LAN)
เครือข่าย LAN ไร้สาย คือ เครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องของการไม่ต้องเดินสายเหมือน LAN แบบ อื่นๆ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือสถานทีที่ไม่สะดวกในการเดินสาย เช่น ที่บ้าน โดยคุณอาจเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องเครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ผ่านโมเด็มได้จากทุกห้องในบ้าน หรือ แม้แต่บริเวณหน้าบ้าน โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกจุดภายในระยะทำการ เนื่องจากคลื่นวิทยุนี้มีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆได้ดี ไม่ว่าจะเป็นผนัง กำแพง เพดาน แต่ปัญหาสำหรับระบบเครือข่ายไร้สายคือเรื่องการรบกวนของสัญญาณวิทยุ แสดงดังรูปที่ 28



รูปที่ 28 รูปแสดง Wireless LAN
ปัจจุบันเครือข่ายแบบไร้สายมี 2 มาตรฐาน คือ HomeRF (Home Radio Frequency) และ IEEE 802.11 โดย IEEE 802.11นั้นสามารถแตกย่อยออกเป็นหลายมาตาฐานย่อยตามสัญลักษณ์ตัวสุดท้าย เช่น IEEE 802.11a, IEEE802.11b, IEEE802.11g เป็นต้น แต่ที่กำลังเป็นที่นิยมและแพร่หลายกันอยู่คือ IEEE 802.11b หรือ Wireless LAN เรียกสั้นๆว่า” WLAN” เครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่หลายยี่ห้อก็ให้อุปกรณ์ Wireless LAN แบบนี้มาในตัวเลย สำหรับความถี่ของคลื่นที่ได้รับจัดสรรมาให้ใช้จะมี 3 ช่วง ดังรูป ซึ่งเรียกว่าเป็น ISM Bands (ISM = Industrial, Scientific และ Medical) โดยขณะนี้กำลังใช้ความถี่ระหว่าง 2.4 – 2.4835 GHz
Behrouz A.Forouzan. Data Communications and Networking. Second Edition. Mc Graw Hill . 200